วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4



การเรียนการสอน


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with behavioral and Emotional Disorders)
   - เด็กที่ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
   - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
   - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่มกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2 ประเภท
   1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (สอนไม่ได้ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้)
   2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ (สามารถสอนให้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้)
      เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด
        - วิตกกังวล
        - หนีสังคม
        - ก้าวร้าว
   การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
        - สภาพแวดล้อม
        - ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
   ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
        -ไม่สามารถเขียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
        - รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
        - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
        - มีความคับข้องใจและมีความเก็บกดอารมณ์
        - แสดงอาการของร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆ 
ของร่างกาย
        มีความหวาดกลัว
   เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก

  1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
  2. เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม  (Autisum) 
   เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) เรียกย่อๆ ว่า ADHD เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่งซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่นขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)   
   ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
        - อุจจาระปัสสาวะรดเสื้อผ้าหรือที่นอน
        - ยังติดขวดนมหรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
        - ดูดดนิ้ว กัดเล็บ
        - เหงาหงอยเศร้าซึม หนีสังคม
        - เรียกร้องความสนใจ
        - อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
        - ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
        - ฝันกลางวัน
        - พูดเพ้อเจ้อ
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disability) เรียกย่อๆ ว่า L.D (Learning Disability)
        - เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
        - เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูด การเขียน
        - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด้กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
   ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
        - มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
        - ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
        - เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
        - มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน
        - รับลูกบอลไม่ได้
        - ติดกระดุมไม่ได้
        - เอาแต่ใจตนเอง

เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม  (Autisum) 

        - เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรง ในการสื่อความกมาย พฤติกรรม สังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
        - เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
        - ติดตัวไปตลอดชีวิต
        - ทักษะทางภาษา 50%
        - ทักษะทางสังคม 50%
        - ทักษะทางการเคลื่อนไหว 100%
        - ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรงขนาดและพื้นที่ 100%
   ลักษณะของเด็กออทิสติก
        - อยู่ในโลกของตนเอง
        - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
        - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
        - ไม่ยอมพูด
        - เคลื่อนไหวแบบช้าๆ
        - ยึดติดวัตถุ
        - ต่อต้านหรือแสดงปฏิกิริยาอารมณ์รุนแรงและไร้เหตุผล
        - มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก
        - ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีต่างจากคนทั่วไป
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
       - เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
      - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
        - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
        - เด็กที่ทั้งตาบอดและหูหนวก
    
       
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น