วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 8


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นกิจกรรมกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6



การเรียนการสอน

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
   พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวามทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (พัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษมีทั้งพัฒนาขึ้น พัฒนาอยู่กับที่ และพัฒนาถอยลง)
   เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
        - เด็กที่มัพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
        - พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
        - พัฒนาการล่าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการด้านอื่นล่าช้าด้วยก้ได้
   ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก
        - ปัจจัยทางชีวภาพ
        - ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
        - ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
        - ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
   สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  1. โรคทางพันธุกรรม เด็กอาจมีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักจะมีลักษณะผิกปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย (คือ หูหนวก ตาบอด)
  2. โรคทางระบบประสาท เด้กมีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วยที่พบบ่อย คืออาการชัก
  3. การติดเชื้อ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
  4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม โรคที่มักเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ โรค ไทรอยด์ ฮอร์โมนในเม็ดเลือดต่ำ
  5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยและภาวะขาดออกซิเจน
  6. สารเคมี
      - สารตะกั่ว เป็นสาเหตุที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด เด็กได้รับสารตะกั่วมีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวหมองคล้ำเป็นจุดๆ ภาวะตับเป็นพิษ ระดับสติปัญญาต่ำ 
      - แอลกอฮอร์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal alcohol syndrome,FAS
    - ช่องตาสั้น
    - ช่องริมฝีปากบนเรียบ
    - ริมฝีปากบนยาวและบาง
    - หนังคลุมหัวตามาก
    - จมูกแบน
    - ปลายจมูกเชิดขึ้น
      - นิโคติน น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์ เพิ่มอัตตราการตายในวัยทารก สติปัญญาบกพร่อง สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญญหาด้านการเข้าสังคม
     7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
   อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
      - มีพัฒนาการล่าช้าอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
      - ปฏิกิริยาสะท้อนไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
   แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  1. ซักประวัติ
        - โรคประจำตัว
        - โรคทางพันธุกรรม
        - ประวัติฝากครรภ์
        -  ประวัติเกี่ยวกับการคลอด      
        - พัฒนาการที่ผ่านมา
        - การเล่นตามวัย
        - การช่วยเหลือตนเอง
        - ปัญหาพฤติกรรม
        - ประวัติอื่นๆ
    เมื่อซักประวัติแล้วสามารถบอกได้ว่า
        - ลักษณะพัมนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่หรือถดถอย
        - เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่อย่างไรอยู่ในระดับไหน
        - มีข้อสงสัยว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
        - สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร    2.  การตรวจร่างกาย
        - ตรวจร่างกายทั่วๆ ไปและการเจริญเติบโต
        - ภาวะ ตับ ม้าม ไต
        - ผิวหนัง
        - ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
        - ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (Child abuse)
        - ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
    3.  การสืบค้นห้องปฏิบัติการ
    4.   การประเมินพัฒนาการ
        - การประเมินแบบเป็นทางการ
   การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
        - แบบทดสอบ Denver ll
        - Gesell Drawing Test
        - แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด-5 ปี สถาบันราชานุกูล