วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2



การเรียนการสอน

          อาจารย์แจ้งคะแนนการส่งงานใหม่ดังนี้

- งานจิตพิสัย             10 คะแนน
- งานเดี่ยว                 10 คะแนน
- งานกลุ่ม (นำเสนอ)   10 คะแนน
- บันทึกอนุทินลงบล็อก10 คะแนน
- โทรทัศน์ครู              10 คะแนน
- สอบกลางภาค          15 คะแนน
- สอบปลายภาค          15 คะแนน

          เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special) 
1.ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ" หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียความสามารถอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2.ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้แตกต่างไปจากเด็กปกติทางด้าน เนื้อหา หลักสูตร กระบานการที่ใช้และการประเมินผล
         สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
- เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้ความช่วยเหลือและการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุจากความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือการบำบัดและฟื้นฟู
- จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล 
  
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม

1.กลุ่มที่มีลักษณะทางความสามรถสูงมีความเป็นเลิศทางสติปัญญาเรียกทั่วๆไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
2.กลุ่มที่มีลักษณะทางความบกพร่อง กระทรวงศึกษาได้แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
   1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
   2.เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
   3.เด็กบกพร่องทางเห็น
   4.เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
   5.เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
   6.เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
   8.เด็กออทิสติก
   9.เด็กพิการซ้อน

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilitios) 
          หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
   - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
   - เด็กที่มีความสามรถในการเรียนช้ากว่าเด็กปกติ
   - ขาดทักษะการเรียนรู้
   - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
   - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนช้า
   ภายนอก
   - เศรษฐกิจของครอบครัว
   - การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
   - สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
   - การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
   - วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
   ภายใน
   - พัฒนาการช้า
   - การเจ็บป่วย
เด็กปัญญาอ่อน
   - เด็กที่มีภาวะพัฒนาการหยุดชะงัก
   - แสดงลักษณะเฉพาะ คือ ระดับสติปัญญาต่ำ
   - มีความสามรถในการเรียนรู้น้อย
   - มีความจำกัดทางด้านทักษะ
   - มีพัฒนาการทางด้านร่างกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
   - มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม

เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา(IQ) 4 กลุ่ม
1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ ได้เลยต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 ไม่สามารถเรียนได้ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองเป็นกิจวัตรประจะวันเบื้องต้นง่ายๆ 2 กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mantal Retardation)
3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 20-34 พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆ ได้สามารถฝึกอาชีพหรือทำงานง่ายๆที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดละออได้เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 เรียนในระดับประถมศึกษาได้ สามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆ ได้ เรียกโดยทั่วไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
   - ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
   - ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
   - ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
   - ทำงานช้า
   - รุนแรง ไม่มีเหตุผล
   - อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
   - ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

เด็กบกพร่องทางการได้ยิน  (Children with Hearing Impaired)
          หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องที่สูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การฟังเสียงต่างๆ ได้ไม่ชัดเจนมี 2 ประเภท คือเด้กหุตึงและเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินแต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระหว่าง 26-40 dB เด็กจะมีปัญหาในการฟังเสียงเบาๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ
2.เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 dB
   - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพุดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
   - จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
   - มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ค่อยชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเบาหรือเสียงผิดปกติ
3.เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง 51-70 dB
   - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
   - เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
   - มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
   - มีปัญหาทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
   - พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
4.เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 71-90 dB
   - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
   - ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูระยะ 1 ฟุต
   - การพูดคุยได้ด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
   - เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
   - เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูดเด็กหูหนวก
   - เด็กสูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
   - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
   - ไม่สามารถเข้าใจหรือภาษาพูดได้
   - ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
   - ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักจะตะแคงหูฟัง
   - ไม่พูดมักแสดงท่าทาง
   - พูดไม่ถูดหลักไวยากรณ์
   - พูดด้วยเสียงแปลกมักเปล่งเสียงสูง
   - พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
   - เวลาฟังมักจะมองปากผู้พูดหรือจ้องหน้าผู้พูด
   - รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
   - มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดคุย

เด็กบกพร่องทางการเห็น  (Children with Visual Impairments)
   - เด็กที่มองมไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเห็นเลือนลาง
   - มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง 2 ข้าง
   - สามารถมองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
   - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา จำแนกได้ 2 ประเภท คือ ตาบอดและตาบอดไม่สนิท
   เด็กตาบอด
   - เด็กไม่สามารถมองเห็นได้เลยหรือมองเห็นบ้าง
   - ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
   - มีสายตาดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60,20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
   - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุด 5 องศา เด็กตาบอดไม่สนิท
   - เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
   - สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
   - เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18,20/60,6/60,20/200
   - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
   - เด็กงุ่มง่าม ชนและสรุปวัตถุ
   - มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
   - มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
   - ก้มศีรษะชิดกับงานหรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
   - เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สายตา
   - ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
   - มีความลำบากในการจำและแยกแยะสีที่เป็นรูปร่างเรขาคณิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น