วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4



การเรียนการสอน


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with behavioral and Emotional Disorders)
   - เด็กที่ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
   - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
   - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่มกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2 ประเภท
   1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (สอนไม่ได้ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้)
   2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ (สามารถสอนให้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้)
      เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด
        - วิตกกังวล
        - หนีสังคม
        - ก้าวร้าว
   การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
        - สภาพแวดล้อม
        - ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
   ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
        -ไม่สามารถเขียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
        - รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
        - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
        - มีความคับข้องใจและมีความเก็บกดอารมณ์
        - แสดงอาการของร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆ 
ของร่างกาย
        มีความหวาดกลัว
   เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก

  1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
  2. เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม  (Autisum) 
   เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) เรียกย่อๆ ว่า ADHD เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่งซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่นขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)   
   ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
        - อุจจาระปัสสาวะรดเสื้อผ้าหรือที่นอน
        - ยังติดขวดนมหรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
        - ดูดดนิ้ว กัดเล็บ
        - เหงาหงอยเศร้าซึม หนีสังคม
        - เรียกร้องความสนใจ
        - อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
        - ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
        - ฝันกลางวัน
        - พูดเพ้อเจ้อ
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disability) เรียกย่อๆ ว่า L.D (Learning Disability)
        - เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
        - เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูด การเขียน
        - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด้กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
   ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
        - มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
        - ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
        - เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
        - มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน
        - รับลูกบอลไม่ได้
        - ติดกระดุมไม่ได้
        - เอาแต่ใจตนเอง

เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม  (Autisum) 

        - เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรง ในการสื่อความกมาย พฤติกรรม สังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
        - เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
        - ติดตัวไปตลอดชีวิต
        - ทักษะทางภาษา 50%
        - ทักษะทางสังคม 50%
        - ทักษะทางการเคลื่อนไหว 100%
        - ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรงขนาดและพื้นที่ 100%
   ลักษณะของเด็กออทิสติก
        - อยู่ในโลกของตนเอง
        - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
        - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
        - ไม่ยอมพูด
        - เคลื่อนไหวแบบช้าๆ
        - ยึดติดวัตถุ
        - ต่อต้านหรือแสดงปฏิกิริยาอารมณ์รุนแรงและไร้เหตุผล
        - มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก
        - ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีต่างจากคนทั่วไป
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
       - เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
      - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
        - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
        - เด็กที่ทั้งตาบอดและหูหนวก
    
       
   

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3



การเรียนการสอน


เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
   - เด็กมีอวัยวะไม่สมส่วน
   - อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
   - มีปัญหาทางระบบประสาท
   - มีความลำบากในการเคลื่อนไหว 
จำแนกเป็น
  1.อาการบกพร่องทางร่างกาย
     - ซีพี (Cerebral plsy) เป็นอัมพาตเนื่องจากประสาทสัมผัสสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
    - การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากสมองส่วนต่างๆ อาการแตกต่างกัน
    - อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก 
    - อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ
    - อัมพาตสูญเสียการทรงตัว
    - ตัวแข็ง
    - แบบผสม
  กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Musculur Distrophy)
    - เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว
    - เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
    - มีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
  โรคระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Crthopedic)
    - ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Clud Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนร่างไม่ติด
    - ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น กระดูกหลังโกง กระดูกผุเป็นแผลเรื้อรัง
  โปลิโอ (Polioayelltis) มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญาเกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้าทางปากโดยการกินข้าว กินน้ำที่ไม่สะอาด เชื้อไวรัสจะไปเจริญเติบโตที่ลำไส้ เมื่อเชื้อเจริญเติบโตก้จะส่งผลไปสู่ระบบเลือดและระบบประสาท
     - ยืนไม่ได้อาจปรับสภาพให้ยืนได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
   แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
   โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis lmperfeta)
  2.ความบกพร่องทางสุขภาพ
    - โรคลมชัก (Epilepsy)
    - เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากความผิดปกติของระบบสมอง
    2.1 ลมบ้าหมู (Grand Mall) เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
    2.2 การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mall) 
      - เป็นอาการชักในช่วงเวลาสั้นๆ 5-10 นาที
      - เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
      - เด็กจะนั่งเฉยหรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
    2.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mall) เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึกล้มลง กล้ามเนื้อเกร็งเกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
    2.4 อาการชักแบบ Partial complex
      - เกิดอาการเป็นระยะๆ
      - กัดริมฝีปากไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา
      - บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโหหลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้และต้องการนอนพัก
    2.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึตัวอาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
      - โรคระบบทางเดินหายใจ
      - โรคเบาหวาน
      - โรคข้ออักเสบแบบบรูมาตอยด์
      - โรคศีรษะโต
      - โรคมะเร็ง
      -โรคหัวใจ
      -โรคเลือดไหลไม่หยุด
ลักษณะเด็กบกพร่องทางร่างและสุขภาพ
   - ปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
   - ท่าเดินคล้ายกรรไกร
   - เดินขากระเผลกหรืออืดอาดเชื่องช้า
   - ไอแห้งบ่อยๆ
   - มักบ่นเจ็บหน้าอกปวดหลัง
   - หน้าแดงง่ายมีสีเขียวจางบนแก้มริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
   - หกล้มบ่อยๆ
   - หิวและกระหายน้ำเกินกว่าเหตุ
เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language)
   เด็กพูดไม่ชัดออกเสียงผิดเพี้ยนอวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้นการใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นดังตั้งใจมีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูดมี 4 ประเภท
   1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
    - ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
    - เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
    - เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด เป็น ฝาด
   2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
   3. ความผิดปกติด้านเสียง
    - ระดับเสียง
    - ความดัง
    - คุณภาพเสียง
   4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dys aphasia หรือ
    4.1 Motor aphasia
    - เด็กที่เข้าใจคำถามหรือคำสั่งแต่พูดไม่ได้ออกเสียงลำบาก
    - พูดช้าๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อยบอกชื่อสิ่งของพอได้
    - พูดไม่ถูกไวยากรณ์
    4.2 Wernicke's aphasia
    - เด็กไม่เข้าใจคำถามหรือคำสั่งได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย
    - ออกเสียงไม่ติดขัดแต่มักใช้คำผิดๆ หรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน
    4.3 Conduction aphasia
    เด็กออกเสียงไม่ติดขัดเข้าใจคำถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
    4.4 Nominal aphasia
    เด็กที่ออกเสียงได้เข้าใจคำถามดี พูดตามได้แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้พราะลืมชื่อบางทีก็ไม่เข้าใจความหมาย
    4.5 Global aphasia
     - เด็กที่ไม่เข้าใจภาษาพูดและภาษาเขียน
     - พูดไม่ได้เลย
    4.6 Sensory agraphasia
     เด็กเขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้มักเกิดร่วมกับ (Gerstmann's Syndrome)
    4.7 Motor agraphasia
     - เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพืไม่ได้
     - เขียนตามคำบอกไม่ได้
    4.8 Cortical alexia
     เด็กที่อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
    4.9 Motor alexia
     เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์เข้าใจความหมายแต่อ่านออกเสียงไม่ได้
    4.10 Gerstmann's Syndrome
     - ไม่รู้ชื่อนิ้ว(finger agnosia)
     - ไม่รู้ซ้ายขวา (allc chiria)
     - คำนวณไม่ได้ (acalculia)
     - เขียนไม่ได้ (agraphia)
     - อ่านไม่ออก (alexia)
    4.11 Visual agnosia
    เด็กที่มองเห็นวัตถุแต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไรบางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
    4.12 Auditory agnosia
    เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของ
คำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ
ลักษณะเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
   - ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
   - ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
   - ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
   - หลัง 8 ขวบ ภาษาพูดของเด็กก็ยังเข้าใจยาก
   - ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
   - หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
   - มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
   - ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2



การเรียนการสอน

          อาจารย์แจ้งคะแนนการส่งงานใหม่ดังนี้

- งานจิตพิสัย             10 คะแนน
- งานเดี่ยว                 10 คะแนน
- งานกลุ่ม (นำเสนอ)   10 คะแนน
- บันทึกอนุทินลงบล็อก10 คะแนน
- โทรทัศน์ครู              10 คะแนน
- สอบกลางภาค          15 คะแนน
- สอบปลายภาค          15 คะแนน

          เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special) 
1.ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ" หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียความสามารถอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2.ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้แตกต่างไปจากเด็กปกติทางด้าน เนื้อหา หลักสูตร กระบานการที่ใช้และการประเมินผล
         สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
- เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้ความช่วยเหลือและการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุจากความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือการบำบัดและฟื้นฟู
- จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล 
  
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม

1.กลุ่มที่มีลักษณะทางความสามรถสูงมีความเป็นเลิศทางสติปัญญาเรียกทั่วๆไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
2.กลุ่มที่มีลักษณะทางความบกพร่อง กระทรวงศึกษาได้แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
   1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
   2.เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
   3.เด็กบกพร่องทางเห็น
   4.เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
   5.เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
   6.เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
   8.เด็กออทิสติก
   9.เด็กพิการซ้อน

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilitios) 
          หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
   - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
   - เด็กที่มีความสามรถในการเรียนช้ากว่าเด็กปกติ
   - ขาดทักษะการเรียนรู้
   - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
   - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนช้า
   ภายนอก
   - เศรษฐกิจของครอบครัว
   - การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
   - สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
   - การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
   - วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
   ภายใน
   - พัฒนาการช้า
   - การเจ็บป่วย
เด็กปัญญาอ่อน
   - เด็กที่มีภาวะพัฒนาการหยุดชะงัก
   - แสดงลักษณะเฉพาะ คือ ระดับสติปัญญาต่ำ
   - มีความสามรถในการเรียนรู้น้อย
   - มีความจำกัดทางด้านทักษะ
   - มีพัฒนาการทางด้านร่างกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
   - มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม

เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา(IQ) 4 กลุ่ม
1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ ได้เลยต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 ไม่สามารถเรียนได้ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองเป็นกิจวัตรประจะวันเบื้องต้นง่ายๆ 2 กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mantal Retardation)
3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 20-34 พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆ ได้สามารถฝึกอาชีพหรือทำงานง่ายๆที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดละออได้เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 เรียนในระดับประถมศึกษาได้ สามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆ ได้ เรียกโดยทั่วไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
   - ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
   - ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
   - ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
   - ทำงานช้า
   - รุนแรง ไม่มีเหตุผล
   - อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
   - ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

เด็กบกพร่องทางการได้ยิน  (Children with Hearing Impaired)
          หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องที่สูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การฟังเสียงต่างๆ ได้ไม่ชัดเจนมี 2 ประเภท คือเด้กหุตึงและเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินแต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระหว่าง 26-40 dB เด็กจะมีปัญหาในการฟังเสียงเบาๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ
2.เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 dB
   - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพุดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
   - จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
   - มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ค่อยชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเบาหรือเสียงผิดปกติ
3.เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง 51-70 dB
   - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
   - เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
   - มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
   - มีปัญหาทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
   - พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
4.เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 71-90 dB
   - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
   - ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูระยะ 1 ฟุต
   - การพูดคุยได้ด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
   - เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
   - เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูดเด็กหูหนวก
   - เด็กสูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
   - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
   - ไม่สามารถเข้าใจหรือภาษาพูดได้
   - ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
   - ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักจะตะแคงหูฟัง
   - ไม่พูดมักแสดงท่าทาง
   - พูดไม่ถูดหลักไวยากรณ์
   - พูดด้วยเสียงแปลกมักเปล่งเสียงสูง
   - พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
   - เวลาฟังมักจะมองปากผู้พูดหรือจ้องหน้าผู้พูด
   - รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
   - มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดคุย

เด็กบกพร่องทางการเห็น  (Children with Visual Impairments)
   - เด็กที่มองมไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเห็นเลือนลาง
   - มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง 2 ข้าง
   - สามารถมองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
   - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา จำแนกได้ 2 ประเภท คือ ตาบอดและตาบอดไม่สนิท
   เด็กตาบอด
   - เด็กไม่สามารถมองเห็นได้เลยหรือมองเห็นบ้าง
   - ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
   - มีสายตาดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60,20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
   - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุด 5 องศา เด็กตาบอดไม่สนิท
   - เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
   - สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
   - เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18,20/60,6/60,20/200
   - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
   - เด็กงุ่มง่าม ชนและสรุปวัตถุ
   - มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
   - มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
   - ก้มศีรษะชิดกับงานหรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
   - เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สายตา
   - ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
   - มีความลำบากในการจำและแยกแยะสีที่เป็นรูปร่างเรขาคณิต

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 1


การเรียนการสอน

         
          อาจารย์อธิบายแนวการสอน

- พร้อมกับให้หางานวิจัยเกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษเป็นงานเดี่ยวซ้ำเรื่องได้ 2 คน พร้อมนำเสนอสัปดาห์ที่ 12-13  (10 คะแนน)
- งานกลุ่มนำเสนอประเภทของเด็กพิเศษสัปดาห์ที่ 6-7  (20 คะแนน)
- ทำบล็อกบันทึกเฉพาะสิ่งที่เรียนเท่านั้น  (20 คะแนน)
- อาจารย์ทำการทดสอบก่อนเรียนโดยให้ทุกคนทำ My Mapping เรื่องเด็กพิเศษเมื่อนึกถึงเด็กพิเศษจะนึกถึงอะไรบ้างทำเป็นองค์ความรู้ส่งอาจารย์

          สะท้อนความรู้ที่ได้จากสิ่งที่เรียน

          ควรศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียนก่อนล่วงหน้าให้มากกว่านี้เมื่อเรียนแล้วจะได้เป็นการทบทวนความรู้ที่ตนเองได้ศึกาามาก่อนล่วงหน้าจะทำให้เข้าใจเนื้อหาที่กำลังเรียนอยู่ให้มากขึ้น